ปัญหามะม่วง ช่วงติดดอก บอกเอส.เอ.พี ไคโตซาน ฝาชมพู 

mm

ช่วงที่มะม่วงแทงช่อดอก หรือ ระยะเดือยไก่ เป็นช่วงที่เกษตรกรควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะถือว่าชี้ชะตาผลผลิตในแต่ละรอบเลยก็ว่าได้ โดยต้องใส่ใจทั้งการให้น้ำ การให้ปุ๋ย การป้องกันโรคและแมลงที่อาจทำลายช่อดอก ทำให้ไม่ติดผลหรืออัตราการติดผลน้อย ผลไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้เกษตรกรเสียทั้งแรง เสียเวลา และสิ้นเปลืองงบในการดูแลพืชไปโดยเปล่าประโยชน์

โรคแอนแทรกโนส 

อาการ : บนช่อดอกปรากฎจุดสีน้ำตาล ดอกแห้ง เหี่ยวและร่วง มะม่วงไม่ติดผล หรือหากติดผลอ่อนจะเห็นว่ามีรอยยุบ ช้ำ คล้ายผลเน่า กิ่งมะม่วงบิดเบี้ยว 

วิธีป้องกันและกำจัด : ควรถางวัชพืชโคนต้น ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดเข้าถึงได้ง่าย บำรุงช่อดอกด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน สำหรับพืช ในช่วงฝนตกชุกควรลดการให้น้ำลง หากตรวจพบอาการของเชื้อราดังกล่าวให้ขูดและตัดส่วนที่ติดโรคไปเผาทำลายนอกสวน 

โรคราแป้ง

อาการ : มีผงสีขาวขึ้นปกคลุมตามช่อดอก ใบบิดเบี้ยว มีจุดสีน้ำตาลเทาขึ้นตามใบคล้ายใบไหม้ ผลอ่อนมะม่วงหลุดร่วงง่าย มีรอยช้ำขึ้นที่ขั้วผล สามารถระบาดได้ง่ายหากสปอร์เชื้อราปลิวไปกับลม จะเกาะตัวอยู่บนต้นและลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น 

วิธีป้องกันและกำจัด : ช่วงมะม่วงติดช่อควรฉีดพ่นปุ๋ยน้ำไคโตซาน อย่างเอส.เอ.พี ไคโตซาน ฝาชมพูทุก 10-15 วัน ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเชื้อรา เสริมการแทงช่อดอก ให้ช่อดอกก้านยาวขึ้น เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดอกและผลขั้วเหนียว ไม่ร่วงหลุดง่าย 

โรคราดำ

อาการ : มีเส้นใยสีดำปกคลุมตามกิ่งและช่อดอก เกิดจากพวกเพลี้ยที่ดูดน้ำหวานแล้วขับถ่ายตามใบและช่อดอก ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อรา ราดำจะบดบังการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้ต้นมะม่วงชะงักการเติบโต ช่อดอกไม่ติดผล หรือหากติดผลอ่อนก็จะมีคราบราดำติดตามผลและอาจฝังแน่นทำให้ผลผลิตไม่สวยงาม ขายไม่ได้ราคา 

วิธีป้องกันและกำจัด : ตัดแต่งทรงพุ่มให้โดนแสงแดดอย่างทั่วถึง ต้นมะม่วงที่ปลูกชิดกันและทิ้งใบหนาทึบอาจเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อรา หากสังเกตเห็นราดำในระยะเริ่มต้น ให้ฉีดพ่นน้ำเพื่อชำระล้างตามใบและช่อดอก จากนั้นบำรุงด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและพื้นดินทุก 10-15 วัน เพื่อป้องกันแมลงและยับยั้งการเกิดเชื้อรา

เพลี้ยจักจั่น

อาการ : เพลี้ยจักจั่นมักระบาดมากที่สุดช่วงมะม่วงติดช่อดอก สังเกตว่าเชื้อราจะขึ้นปกคลุมตามช่อดอกและผลอ่อน ใบบิดเบี้ยวเสียรูป ปลายใบแห้งคล้ายใบไหม้ ต้นมะม่วงชะงักการแทงช่อและแตกใบ อัตราการติดผลน้อย ผลที่ได้แคระแกร็น ไม่สมบูรณ์

วิธีป้องกันและกำจัด : กำจัดวัชพืชโคนต้นซึ่งอาจเป็นที่อาศัยของแมลง ตัดแต่งกิ่งให้ต้นมะม่วงมีการระบายอากาศ หากอยากทดสอบว่าในสวนมีเพลี้ยจักจั่นหรือไม่ให้ลองวางกับดักเพลี้ย หากมีตัวเพลี้ยมาติดกับ ให้ผสมเอส.เอ.พี ไคโตซาน 20 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใบและพื้นดินทุก 10-15 วัน เพื่อยับยั้งสาเหตุที่อาจลุกลามเป็นราดำพร้อมเสริมธาตุอาหารพืช เมื่อมะม่วงเริ่มติดลูก เพลี้ยจักจั่นจะค่อย ๆ หายไปเอง

เพลี้ยไฟ 

อาการ : เป็นแมลงที่มักพบบนช่อดอกและใต้ใบมะม่วง จึงสังเกตเห็นได้ยากในระยะแรก แต่ที่น่ากลัวคือเพลี้ยไฟมักเจริญเติบโตได้เร็ว กว่าเกษตรกรจะรู้ตัวมะม่วงก็อาจเสียหายไปแล้ว จะเห็นได้ว่าดอกมะม่วงแห้ง ดอกร่วง ใบม้วน ไม่ติดผล หรือหากพบในช่วงติดผลอ่อนจะสังเกตว่าผลลาย มีรอยแผลเป็น เมื่อมะม่วงโตขึ้นผลจะบิดเบี้ยว ขายได้ราคาต่ำ 

วิธีป้องกันและกำจัด : ก่อนมะม่วงติดช่อควรฉีดพ่นทางใบด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน สารสกัดธรรมชาติจากน้ำส้มสายชู มีกลิ่นฉุนที่ช่วยไล่แมลงและเคลือบตามใบ กิ่ง และช่อดอก จึงทำให้เพลี้ยไฟกัดกินต้นมะม่วงได้ยาก ทั้งนี้เกษตรกรควรหมั่นสำรวจในสวน พลิกดูใต้ใบว่ามีไข่หรือตัวอ่อนซ่อนอยู่หรือไม่ หากมีให้ขูดกำจัดทิ้งนอกสวน 

ช่วงมะม่วงติดดอกควรเติมธาตุอาหารอย่างต่อเนื่องอย่าให้ขาด ด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน ฝาชมพู ที่มีไคตินจากเปลือกกุ้ง เปลือกปู ประโยชน์หลักของขวดนี้คือเติมธาตุอาหารในดิน 

ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงต้องการในช่วงติดดอก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ส่วนอาหารเสริม ได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียม ทำให้ต้นมะม่วงแข็งแรงขึ้น ขั้วเหนียว ก้านยาว ใช้เพียงขวดเดียวก็ครบถ้วนและเพียงพอ ที่สำคัญยังช่วยป้องกันโรคพืชและแมลง ผลที่ได้หลังใช้จะเห็นว่ามะม่วงผลสวย ผลใหญ่ น้ำหนักดี ขายได้ราคา คุ้มค่ากับการลงทุน 

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest