เคล็ดลับเลี้ยงหมูหลุม หมูโตไว ทุนไม่จม ดูแลด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน ฝาม่วง

สินค้า ฝาม่วง

ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู มักต้องแบกรับต้นทุนค่าอาหาร ค่าอาหารเสริมและค่ายาที่มีราคาค่อนข้างสูง เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงทรัพยากรคุณภาพสูงยาก อีกทั้งยังมีเรื่องกลิ่น ระบบระบายอากาศในโรงเรือนและระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องเตรียมการรองรับ 

ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงหันมาแนะให้เกษตรกร “เลี้ยงหมูหลุม” ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนวิถีชาวบ้าน เน้นการใช้วัตถุดิบใกล้ตัวจากธรรมชาติ ทำให้ได้หมูปลอดสารที่ผู้บริโภควางใจ  

การเลี้ยงหมูหลุม สามารถทำได้โดยการขุดหลุมลึก ล้อมคอก มุงคา ปูพื้นคอกด้วยหญ้าแฝกสับ สลับกับหยวกกล้วยสับ ทับด้วยขี้เลื่อยผสมแกลบและดิน ให้อาหารหมูด้วยพืชผักที่ปลูกเอง เมื่อหมูขับถ่ายลงในคอก ขี้เลื่อยจะช่วยซับกลิ่น จึงสามารถเลี้ยงในระบบเปิดได้ ไม่จำเป็นต้องมีระบบระบายอากาศให้ยุ่งยาก จึงมีต้นทุนต่ำกว่าการเลี้ยงในรูปแบบอื่น 

มูลของหมูที่ลงไปผสมกับดินรองคอกสามารถนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ใช้รดโคนต้นไม้ต่อได้อีกด้วย ถือเป็นการใช้ประโยชน์หมุนเวียนอย่างคุ้มค่า 

เทคนิคการเพิ่มน้ำหนัก

การให้อาหารหมูหลุมโดยส่วนใหญ่ไม่นิยมให้อาหารสำเร็จรูป ควรเป็นพืชสดหรือเศษผักหมักที่ไม่ผ่านการต้ม เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหาร

การเลี้ยงหมูด้วยพืชที่ปลูกเองควรมั่นใจว่าปลอดเชื้อราและสารพิษตกค้าง อาหารที่นิยมให้ เช่น หยวกกล้วยสับ ผักบุ้ง ผักตบชวา ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจมีคุณค่าทางอาหารน้อย เกษตรกรสามารถเสริมด้วยเอส.เอ.พี ไคโตซาน สำหรับสัตว์ ฝาม่วง สารสกัดจากธรรมชาติ ผลิตจากเปลือกกุ้ง เปลือกปูบด อุดมไปด้วยสารอาหารเต็มเปี่ยม

ใช้ได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มเลี้ยง โดยนำไคโตซานคลุกเคล้าเคลือบอาหาในอัตรา 30-40 ซี.ซี. ผสมน้ำ 100 ซี.ซี. ต่ออาหาร 1 กก. หรือผสมน้ำให้กินในอัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถให้ทั้งทางน้ำและทางอาหารควบคู่กัน

ถือเป็นตัวช่วยเร่งการเจริญเติบโต อัตราการรอดของสัตว์สูง เพิ่มน้ำหนัก ทำให้หมูมีอัตราค่าแลกเนื้อสูง แต่ค่า FCR ต่ำ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้สัตว์แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคไข้หวัด โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยไม่ต้องพึ่งอาหารเสริม

ปัญหาและการป้องกัน

การให้อาหารหมูด้วยพืชที่ปลูกเองก็จำเป็นต้องระวังปัญหาสุขภาพ เช่น เชื้อราฟูโมนิซินในข้าวโพด ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อฟาร์มหมู อาจทำให้หมูมีอาการปอดบวมน้ำและมะเร็งหลอดอาหาร หากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้หมูตายยกคอกได้เลยทีเดียว แต่อย่าลืมว่าแค่มีเอส.เอ.พี ไคโตซาน สำหรับสัตว์ก็หายห่วง

นอกจากนี้ หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าปัจจัยสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มคือ รถ ไม่ว่าจะเป็นรถจับสุกร รถส่งสุกร หรือรถขนอาหารสัตว์ โดยเฉพาะกับโรงเรือนแบบเปิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคปากและเท้าเปื่อย ควรป้องกันโดยการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตัวรถก่อนนำเข้ามาภายในฟาร์ม โรยปูนขาวตามพื้นถนนและรอบ คอก 

หากกังวลเรื่องหมูติดโรคทางผิวหนัง สามารถใช้เอส.เอ.พี ไคโตซาน ฝาม่วง ป้องกันการระบาดของโรคได้ ใช้แปรงจุ่มไคโตซานและทาบริเวณที่มีแผลให้ทั่วถึง 

ดูแลหมูให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจต้องใส่ใจทุกขั้นตอน สินอุดมเกษตรภัณฑ์คิดค้นไคโตซาน สำหรับสัตว์มาเพื่อเกษตรกร ให้การเลี้ยงหมูหลุมกลายเป็นเรื่องง่าย ลดต้นทุน มีกำไร

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest