ปลูกต้นปาล์มน้ำมันบนที่นาเดิม เพิ่มโอกาสส่งออก สร้างรายได้ให้เกษตรกร

Landscape of Sugar palm and rice field.

เกษตรกรภาคใต้เปลี่ยนผืนนาเก่ามาเป็นสวนปาล์มน้ำมัน ดูแลอย่างไรให้การลงทุนไม่สูญเปล่า ผลผลิตดีมีกำไร ต้องเริ่มตั้งแต่ปรับหน้าดิน เลือกสายพันธุ์ปาล์ม วิธีดูแลในแต่ละช่วง ตลอดจนปุ๋ยที่ใช้ 

เตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน

เกษตรกรภาคใต้กลุ่มที่ทำนามักประสบปัญหาน้ำท่วมขังนาบ่อยครั้งในหน้าฝน และน้ำไม่เพียงพอในหน้าแล้ง ส่งผลให้นาข้าวเสียหาย ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร เสียเปล่าทั้งแรงและเงินทุน

หลายพื้นที่จึงนิยมปรับเปลี่ยนนาข้าวมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน เนื่องจากปาล์มสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นที่ต้องการของตลาด และเหมาะกับสภาพแวดล้อมในภาคใต้อีกด้วย 

การเตรียมสภาพแวดล้อมจากนาข้าว มาเป็นสวนปาล์มนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องวางแปลนการปลูกล่วงหน้า โดยที่ใช้กันมากคือ ปลูกเว้นระยะห่างระหว่างต้น 9×9 เมตร เพื่อให้ปาล์มได้รับแสงแดดและสารอาหารทั่วถึง ไม่แย่งปุ๋ยกันเอง 

นอกจากนี้ควรมีการยกร่องคู่ ระยะห่างระหว่างปาล์มแต่ละแถวควรเว้นให้รถกระบะ หรือรถสับบดปาล์มสามารถวิ่งผ่านได้สะดวก โดยไม่เหยียบโคนต้นปาล์ม 

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือระบบน้ำ หากสวนไหนมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้สามารถใช้ปั๊มสูบน้ำเข้า-ออกได้เลย แต่หากสวนที่ไม่มีแหล่งน้ำ ควรขุดบ่อบาดาลเพื่อสร้างระบบน้ำในสวนขึ้นมาเองเพื่อกักตุนน้ำไว้ใช้ได้ตลอด แม้ว่าจะเป็นการลงทุนครั้งใหญ่แต่รับรองว่าคุ้มค่า 

การปรับสภาพดิน

พื้นที่นาเก่ามักมีสภาพดินเปรี้ยวจากการพ่นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า และเป็นดินเหนียว เกาะตัวแน่นจนทำการเพาะปลูกได้ยาก การปรับสภาพดินควรงดการใช้สารเคมีทุกชนิด หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเติมธาตุอาหาร 

ปุ๋ยออแกนิคแครปมิล ผลิตจากเปลือกกุ้ง เปลือกปู มีไนโตรเจน(N) มากถึง 3.60 มีฟอสฟอรัส(P) มากถึง 3.26 และครบด้วยแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพืช รับประกันว่าธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยจากมูลสัตว์ทุกชนิด ไม่เพียงเท่านั้นยังทนต่อการชะล้างของน้ำได้ดี ย่อยสลายช้า อยู่ในดินได้นานกว่าปุ๋ยชนิดอื่น

นอกจากนี้ควรหันมาใช้รถตัดหญ้าแทนยาฆ่าแมลง ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันสารเคมีตกค้าง แต่ยังจะได้เศษหญ้าคลุมหน้าดินโดยอัตโนมัติ กักเก็บความชุ่มชื้นให้ดินไม่แห้งแตก อีกทั้งย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยสำหรับต้นปาล์มได้อีกด้วย

การเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

การปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ผลดี ต้องเลือกตั้งแต่แหล่งที่มาของต้นกล้า แหล่งการเพาะพันธุ์น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน ตรวจสอบได้ว่าเป็นพันธุ์ที่เราต้องการ ต้นกล้าแข็งแรง ไม่มีใบบิดม้วน ต้นไม่แคระแกร็น ช่วงอายุที่เหมาะกับการลงดินปลูกคือ 8-12 เดือน 

ปาล์มที่นิยมปลูกจะแบ่งหลัก ๆ เป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ดูรา พิสิเฟอรา และเทเนอราที่เป็นลูกผสม ซึ่งได้นำข้อดีของทั้งสองสายพันธุ์มาพัฒนาให้เปลือกบางลง เนื้อเยอะขึ้น เปอร์เซนต์น้ำมันสูงขึ้น จึงได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

การให้ปุ๋ยปาล์ม 5 ระยะ 

การเริ่มปลูกปาล์ม ควรเป็นช่วงต้นหน้าฝน เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เนื่องจากฝนจะยังไม่ตกชุกและสภาพอากาศไม่ร้อนจนเกินไป น้ำจะช่วยนำสารอาหารจากปุ๋ยไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของปาล์มได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังพอมีแสงแดดให้ปาล์มดูดซับสารอาหารอีกทางหนึ่ง

  • ระยะที่ 1 ก่อนปลูกให้ผสมดินปลูกเข้ากับปุ๋ยออแกนิคแครปมิล ก่อนวางกล้าลงในหลุม 
  • ระยะที่ 2 กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นและโรยปุ๋ยเป็นวงกลมรอบ ๆ ให้เท่ากับรัศมีทางใบ
  • ระยะที่ 3  เว้นระยะให้ปุ๋ยห่างจากโคนต้น 50 ซม. โรยออกมาจนถึงรัศมีทางใบ
  • ระยะที่ 4 ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำไคโตซานทุก 15 – 20 วัน ในอัตราส่วน 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ระยะที่ 5 หลังเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำไคโตซานทุก 15 – 20 วันในอัตราส่วนเท่าเดิม เพื่อฟื้นฟูต้นให้ไม่เฉา 

ทุกการเริ่มต้นยากเสมอ แต่หากไม่ปรับผลลัพธ์ก็ไม่เปลี่ยน สินอุดมเกษตรภัณฑ์เชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest